รูปภาพ

กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง

20 ส.ค.

กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง

กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง

20 ส.ค.
ชื่อโครงงาน    กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง ผู้ทำโครงงาน  1.  เด็กชายพงศภัค 	พีระวรรณกุล 	                2.  เด็กชายศิวกานต์	ศรีดาเดช 		  3.  เด็กหญิงพัณณิตา	สีทัด ครูที่ปรึกษา           นางสาวรัชนี  เขียวเงิน	 ที่ปรึกษาพิเศษ       นางถนัดศรี   ทัดเที่ยง สถานศึกษา    โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย  พิษณุโลก สาขาวิชา    สาขาการเกษตร มน.   บทคัดย่อ    	โครงงานเรื่อง กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทำกระดาษเหลือใช้และสมุนไพรให้เกิดประโยชน์โดยการทำถุงห่อกระดาษ  โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน  ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของสมุนไพรที่นำมาทำกระดาษที่สามารถป้องกันแมลงได้ดีที่สุด โดยทดลองทำกระดาษจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดและนำไปห่อผลไม้ พบว่าชนิดสมุนไพร  ของดาวเรือง  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ  4  ตัว  ของตะไคร้  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ  0  ตัว  ของโหระพา  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ 1 ตัว เพราะฉะนั้นตะไคร้เป็นสมุนไพรที่ป้องกันแมลงที่ดีที่สุด   ตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะของการห่อที่เหมาะสมในการไล่แมลงที่ดีที่สุด โดยทดลองพบว่า การห่อผลไม้นั้นเป็นการป้องกันแมลงได้ดีที่สุด เนื่องจากมีอัตราการกัดกินของแมลงน้อยกว่าการที่ไม่ห่อถุงกระดาษไว้ ตอนที่ 3 ศึกษากระดาษที่เหมาะสมในการป้องกันแมลงวันทองได้ดีที่สุดโดยทดลองกับกระดาหนังสือพิมพ์ พบว่าถุงกระดาษสมารถป้องกันแมลงได้ดีกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์ จากการทดลองกระดาษสมุนไพรจากกระดาษเหลือใช้สามารถป้องกันการกัดกินของแมลงชนิดต่างๆได้

กระดาษสมุนไพรจากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง

 

ชื่อโครงงาน    กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลง

ผู้ทำโครงงาน      1.  เด็กชายพงศภัค        พีระวรรณกุล

2.  เด็กชายศิวกานต์       ศรีดาเดช

3.  เด็กหญิงพัณณิตา      สีทัด

ครูที่ปรึกษา           นางสาวรัชนี  เขียวเงิน

ที่ปรึกษาพิเศษ       นางถนัดศรี   ทัดเที่ยง

สถานศึกษา    โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย  พิษณุโลก

สาขาวิชา    สาขาชีววิทยา

 

 

บทคัดย่อ

 

 

โครงงานเรื่อง กระดาษสมุนไพรห่อผลไม้จากกระดาษรีไซเคิลเพื่อป้องกันแมลงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทำกระดาษเหลือใช้และสมุนไพรให้เกิดประโยชน์โดยการทำถุงห่อกระดาษ

โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน  ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของสมุนไพรที่นำมาทำกระดาษที่สามารถป้องกันแมลงได้ดีที่สุด โดยทดลองทำกระดาษจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดและนำไปห่อผลไม้ พบว่าชนิดสมุนไพร  ของดาวเรือง  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ  4  ตัว  ของตะไคร้  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ  0  ตัว  ของโหระพา  มีจำนวนแมลงวันทองที่มีผลต่อมะม่วงประมาณ 1 ตัว เพราะฉะนั้นตะไคร้เป็นสมุนไพรที่ป้องกันแมลงที่ดีที่สุด   ตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะของการห่อที่เหมาะสมในการไล่แมลงที่ดีที่สุด โดยทดลองพบว่า การห่อผลไม้นั้นเป็นการป้องกันแมลงได้ดีที่สุด เนื่องจากมีอัตราการกัดกินของแมลงน้อยกว่าการที่ไม่ห่อถุงกระดาษไว้ ตอนที่ 3 ศึกษากระดาษที่เหมาะสมในการป้องกันแมลงวันทองได้ดีที่สุดโดยทดลองกับกระดาหนังสือพิมพ์ พบว่าถุงกระดาษสมารถป้องกันแมลงได้ดีกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์ จากการทดลองกระดาษสมุนไพรจากกระดาษเหลือใช้สามารถป้องกันการกัดกินของแมลงชนิดต่างๆได้

สมดุลเคมี

1 ต.ค.

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

ปฏิกิริยาผันกลับได้

การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป มักจะเป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี และการเกิดปฏิกิริยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก. ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์(Irreversible reaction)

ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันจนหมด เกิดผลิตภัณฑ์อย่างสมบูรณ์ปฏิกิริยาจะยุติเมื่อสารตั้งต้นสารได้สารหนึ่งหมดและเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ย้อนกลับ เช่น การเผาไหม้ของถ่านกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจำนวนมากเกินพอเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เขียนแทนด้วยสมการ ดังนี้

โลหะสังกะสีทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดก๊าซไฮโดรเจน เขียนแทนด้วยสมการ ดังนี้

* หมายเหตุ เครื่องหมาย แทนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสมบูรณ์ เช่น เกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์

ข. ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์

ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์ หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากัน ได้ผลิตภัณฑ์และในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นบางส่วนทำปฏิกิริยากันกลับเป็นสารตั้งต้นใหม่ ทำให้ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดก็ตาม ภายในระบบยังคงมีทั้งสารตั้งต้นทุกชนิดเหลือ และผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นทุกชนิด และระบบจะมีทั้งการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และปฏิกิริยาย้อนกลับ เรียกปฏิกิริยาประเภทนี้ว่า ปฏิกิริยาผันกลับได้ (Reversible reaction) เช่น ปฏิกิริยาผันกลับที่เกิดขึ้นระหว่าง
[Co(H2O)6] 2+ กับ Cl – ดังนี้

* หมายเหตุ เครื่องหมาย  แทนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ และแสดงว่าเกิดสมดุล

การเปลี่ยนแปลงของระบบที่ผันกลับได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบที่มีการเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น อาจจะเป็นการละลายเป็นสารละลาย หรือ การเปลี่ยนสถานะของสาร ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

 

การละลายเป็นสารละลาย
การละลายเป็นสารละลาย โดยทั่วไปเป็นการละลายที่มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ในตังทำละลายเป็นของเหลว เกิดสารละลาย เช่น การละลาย KNO3 ในน้ำเป็นสารละลาย KNO3 ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า และถ้าละลายต่อไปจนอิ่มตัว มี KNO3 เหลือ และมีการรวมตัวของ K+ กับ NO – 3 เป็น KNO3 ผันกลับได้ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงย้อนกลับเมื่อนำมาเขียนรวมๆ กันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ คือ

การเปลี่ยนสถานะของสาร
การเปลี่ยนสถานะของสาร สารต่างๆ ทุกชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะให้เป็นของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซได้โดยเกี่ยวข้องกับพลังงาน ไม่เป็นแบบดูดความร้อน ก็เป็นแบบคายความร้อน เช่น การเปลี่ยนสถานะของสารที่เป็นของแข็งเป็นก๊าซ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงขั้น 1 , 2 และ 4 เป็นแบบดูดความร้อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในขั้นที่ 3 , 5 และ 6 เป็นการคายความร้อน
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำแข็งเป็นน้ำเหลว ดังนี้

   การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
แต่ขณะเดียวกัน น้ำเหลวควบแน่นเป็นน้ำแข็ง ผันกลับได้ ดังนี้

  การเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ
เมื่อนำมาเขียนรวมกันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ คือ

 

การเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม ปฏิกิริยาเคมีมีทั้งชนิดไม่ผันกลับ(ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์) และปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ (ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์) เช่น

– ปฏิกิริยาระหว่าง Cu2+ กับ Mg เกิด Cu และ Mg2+ ดังนื้

(ทิ้งไว้นานมาก) เกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์ (ปฏิกิริยาไม่ผันกลับ)
– ปฏิกิริยาระหว่าง Fe3+ กับ I- เกิด Fe2+ และ I2 ดังนี้

ปฏิกิริยาไปข้างหน้าและ ในขณะเดียวกัน Fe2+ กับ I2 เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ Fe3 และ I- ดังนี้

เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเมื่อนำมาเขียนรวมๆ กันจะเป็นการที่ผันกลับได้ คือ

 

แควน้อยบํารุงแดน

19 ก.ย.
“เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน”
520720-1

ในหลวงพระราชทานชื่อเขื่อนที่พิษณุโลกเป็น เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 52  นายชูชาติ ฉุยกลม ผู้อำนวยสำนักก่อสร้าง 2 โครงการเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้ส่งหนังสือ เลขที่ รล.005.2/13227 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งหมายถึง เขื่อนแควน้อยที่ทำให้มีความเจริญขึ้นในเขตพื้นที่ สำหรับเขื่อนทดน้ำพญาแมน ทรงพระราชดำรัสเห็นควรให้ใช้ชื่อเดิม อนึ่งเ่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นโครงการพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2552 วงเงิน 3,588 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนปิดช่องเขาต่ำ ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 16 เมตร ยาว 640 เมตร ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน ส่วนเขื่อนแควน้อย เป็นเขื่อนหินทิ้งดาดหน้าคอนกรีตสูงจากพื้น 75 เมตร ยาว 681 เมตร และเขื่อนสันตะเคียน ลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนดินเหนียวสูง 80 เมตรยาว 1,270 เมตร ก่อสร้างโดยบริษัทกิจการร่วมค้า UBC ตามข้อมูลเดิมระบุปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุด 769 ล้านลูกบาศก์เมตร กั้นปิดกั้นลำน้ำแควน้อยที่รับน้ำป่ามาจากเขต อ.นครไทย และ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ล่าสุดเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนอยู่ระหว่างทดลองและกักเก็บน้ำ พร้อมกำลังดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก-พิจิตรกว่า 155,000 ไร่ 

“แควน้อย” … พลังสร้างสรรค์แห่งสายน้ำ
 

520720-1

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราขดำริ เป็นอ่างเก็บน้ำอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ สามารถเก็บกักน้ำที่ระดับเก็บกัก +130 ม.รทก. ได้ถึง 769 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วยเขื่อน 3 เขื่อนติดต่อกัน คือ เขื่อนปิดช่องเขาเต่า เขื่อนแควน้อย และเขื่อนสันตะเคียน อ่างเก็บน้ำและบริเวณหัวงานครอบคลุมพื้นที่ 39,398 ไร่ ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

โครงการเขื่อนแควน้อยฯ จะส่งน้ำให้กับโครงการชลประทานริมแม่น้ำแควน้อยตอนล่างทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา โดยการปล่อยน้ำลงมาด้านท้ายของเขื่อนแล้วสร้างเขื่อนทดน้ำพญาแมนในแม่น้ำแควน้อยที่บ้านพญาแมน ตำบลบ้างยาง อำเภอวัดโบสถ์ เพื่อผันน้ำจากท้ายเขื่อนแควน้อยผ่านประตูระบายน้ำเข้าสู่คลองชลประทานทั้งฝั่งขวาและฝั่งซ้าย น้ำที่เหลือจะไหลผ่านเขื่อนไปตามแม่น้ำแควน้อยลงแม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังพื้นที่เพาะปลูกโครงการเจ้าพระยาตอนบน สำหรับใช้เพาะปลูกในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นต่อไป

น้ำที่ปล่อยมาท้ายน้ำ ยังสามารถช่วยเหลือโครงการชลประทานสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บริเวณหัวงานฝายและเขื่อน ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ชลประทานตอนล่างสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย รวมทั้งประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ประมงและเพิ่มน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนแควน้อยได้เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 148.80 กิกะวัตต์/ชั่วโมง
ที่มา : วารสารเผยแพร่ สูจิบัตรเขื่อนแควน้อย

อย่าทำอย่างนี้ไม่ว่ากับใคร – Bird Thongchai

16 ก.ย.

ลดโลกร้อนด้วยขยะในมือเรา

14 ก.ย.

งานฝีมือ

14 ก.ย.

[Official MV] วัยรุ่นครั้งเดียว – Demo Project

12 ก.ย.

แอตแลนติส ดินแดนที่สาบสูญ

9 ก.ย.

แอตแลนติส ดินแดนที่สาบสูญ

“แอตแลนติส” นครที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นเรื่องที่เล่ากัน มานานหลายพันปีมาแล้วว่า ครั้งนั้นแอตแลนติสเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยและมีวัฒนธรรมสูง ส่ง แต่จู่ๆ มหาสมุทร ก็กลืนแอตแลนติสลงไป และมีผู้พยายามค้นหาที่ตั้งของแอตแลนติสหลายครั้งหลายหน แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ มหานครแห่งนี้จึงยังคงความลึกลับอยู่ต่อไป
รูปภาพ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กูเกิ้ลเปิดตัว “กูเกิ้ลโอเชี่ยน” ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความหวังว่า อาจใช้ “กูเกิ้ลโอเชี่ยน” นี้ค้นหาแอตแลนติสได้ โดยพื้นที่สงสัยนั้นอยู่ห่างจากชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศโมร็อกโก ทวีปแอฟริกา ราว 600 ไมล์และอยู่ลึกใต้ระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 3 ไมล์ พื้นที่นี้เรียกว่า “แอ่งคานารี่”
รูปภาพ
จากภาพที่เห็นพบว่า มีลายเส้นเป็นรูปเหมือนกับถนนหนทาง กินอาณาบริเวณเท่ากับแคว้นเวลส์ ประเทศอังกฤษ แต่ที่จริงแล้ว ลาย เส้นเป็นลายเส้นเทียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำแผนที่ โดยแผนที่นี้ได้มาจากการตรวจวัดด้วยเครื่องโซนาร์ของพื้นทะเลและบันทึกโดยเรือ ลายเส้นนี้จึงเป็นทางเดินเรือที่รวบรวมข้อมูลมาให้

ดร.ชาร์ลส์ ออร์เซอร์ นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กสเตต สหรัฐอเมริกา มีความเห็นว่า “มีความเป็นไปได้สูงที่พื้นที่แห่งนี้จะเป็นที่ตั้งของแอตแลนติส และแม้ว่าจะไม่ใช่แอตแลนติส เป็นเพียงแค่สภาพภูมิศาสตร์ แต่เราก็ควรไปสำรวจอยู่ดี

แอตแลนติส (Atlantis) คืออาณาจักรโบราณที่อยู่ในความทรงจำของคนทั้งโลก ซึ่งผู้ที่สร้างตำนานอาณาจักรลึกลับนี้ คือ เพลโตนักปรัชญาชื่อดังของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก

กล่าวกันว่าอาณาจักรแอตแลนติส เป็นทวีปๆ หนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองผู้ทรงคุณธรรมและเทคโนโลยีที่สูงส่ง กำแพงเมืองเป็นทองคำและวิหารสร้างด้วยเงิน มีอุทยานหย่อนใจ และสนามแข่งม้า ทว่ามันถูกทำลายพังพินาศ ด้วยความพิโรธของเทพเจ้าผู้เนรมิตรมันขึ้นมา คำว่า แอตแลนติส มาจากแอตลาสบุตรของโพไซดอน แอตแลนติสอาจอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้นนั่นเอง

เพลโตนักปราชญ์ชาวกรีกเขียนไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งยุคของเพลโต ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี เพลโตเขียนถึงแอตแลนติสในหนังสือที่ชื่อว่า ทิเมอุส และ ครีทีแอซ โดยอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง

มีการกล่าวว่า อารยธรรมโบราณหลายๆ แห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ รวมถึงบรรดาวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียทั้งหลาย ไปจนถึงวัฒนธรรมโบราณของชนเผ่าอินคามายาและแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นสโตนเฮ้นจ์ หรือปิรามิดในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น

ทฤษฎีแอนตาร์กติกาคือแอตแลนติส

ในหนังสือ แอตแลนติส ดินแดนที่สาบสูญ ได้ระบุไว้ว่า ทวีปแอนตาร์กติกา มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นดินแดนที่ตั้งของนครแอตแลนติส เนื่องจากมีการกล่าวไว้ว่า แอตแลนติส เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยมหาสมุทร และผืนแผ่นดิน ซึ่งเมื่อ 12,000 กว่าปีก่อน บริเวณช่องแคบแบริ่ง เคยเกิดทางเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาและเอเชียเคยเชื่อมต่อกันมาก่อนที่จะขุดคลองสุเอซขึ้น และก่อนที่จะมีการสำรวจทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ทวีปทั้งสองเคยเชื่อมต่อกัน ก่อนที่ชาวสเปนจะทำการขุดคลองปานามา ทำให้ทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็น “เกาะสีขาวกลางมหาสมุทร” อันเป็นแอตแลนติสนั่นเอง[1]

ช่วงเวลาที่แอตแลนติสล่มสลาย คือประมาณ 12,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้าย ซึ่งในช่วงนั้น แกนโลกเอียงไปมาก ทำให้แอนตาร์กติกาเล็ก (ดินแดนขนาดใหญ่ที่ถูกกั้นจากแอนตาร์กติกาใหญ่ด้วยเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติกา) ตอนนั้นยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุม ด้านตรงข้าม บริเวณมหาสมุทรอาร์คติก ก็ยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่บริเวณตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และแอนตาร์กติกาใหญ่นั้น กลับมีน้ำแข็งปกคลุม จึงเชื่อว่า แอนตาร์กติกาเล็กคือที่ตั้งของแอตแลนติส

คำบอกเล่าของนักบวชอียิปต์ ได้กล่าวถึงร่องรอยของแอตแลนติส ไว้ 16 ประการ แต่ย่อได้ 5 ประการ ดังนี้

  1. ตั้งอยู่ในที่ราบใหญ่
  2. อยู่ใกล้มหาสมุทร
  3. อยู่กึ่งกลางระหว่างระยะทางที่ไกลที่สุดระหว่างทวีป
  4. มุ่งตรงไปยังเกาะ
  5. ล้อมรอบด้วยภูเขา

ซึ่งบริเวณแอนตาร์กติกาเล็ก เมื่อ 12,000 ปีก่อน มีที่ราบถ้าลากจากกึ่งกลางทวีป ไปยังเกาะ จะเป็นเส้นที่ยาวที่สุด มีภูเขาอยู่อีกด้านของแอนตาร์กติกาเล็ก ดังนั้น แอตแลนติสจะต้องอยู่ระหว่างแอนตาร์กติกาเล็กกับเกาะๆ นั้น ซึ่งอยู่ระหว่างแหลมกู๊ดโฮกับแหลมแอนตาร์กติก

Great Barrier Reef (เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ) เป็นแนวปะการังที่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร

8 ก.ย.

เกรตแบร์ริเออร์รีฟแสดงลักษณะเป็นแนวคล้ายทิวเขายาวอย่างชัดเจนทางภาคตะวันออกของประเทศออสเตรเลียและรวมเกาะขนาดเล็กที่ชื่อ เมอร์เรย์ (Murray Island) ด้วย ประเทศออสเตรเลียเริ่มมีการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านทิศเหนือตั้งแต่มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) ในอัตรา 7 เซนติเมตรต่อปี ทางภาคตะวันออกของประเทศออสเตรเลียนั้นเคยเกิดการยกตัวขึ้นในช่วงที่มีปรากฏการณ์ธรณีแปรสัณฐาน (Tectonic uplift) ซึ่งทำให้เกิดการเลื่อนตัวของสันปันน้ำ (Drainage divide) ในรัฐควีนส์แลนด์ เข้าไปในแผ่นดิน 400 กิโลเมตรและในระหว่างช่วงเวลานี้ ได้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟใจกลางของรัฐควีนส์แลนด์ ทำให้บางส่วนของหินแกรนิตที่โผล่ให้เราเห็นนั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นเกาะสูงหลายแห่ง หลังจากที่มีการก่อตัวขึ้นของแอ่งสะสมพวกปะการังทะเล แนวหินปะการังก็ได้เริ่มเจริญขึ้นในแอ่งนี้ จนเมื่อ 25 ล้านปีก่อนทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ น้ำมีอุณหภูมิที่เย็นเกินไปไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหินปะการัง ดังนั้นประวัติการพัฒนาการของเกรตแบร์ริเออร์รีฟจึงมีความซับซ้อน แต่หลังจากที่รัฐควีนส์แลนด์เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในเขตร้อนชื้น การพัฒนาของเกรตแบร์ริเออร์รีฟก็ได้รับอิทธิพลจากการเจริญของแนวหินปะการัง จนมาถึงภาวะตกต่ำที่สุดของการเจริญเติบโตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ณ ตอนนี้แนวหินปะการังนี้สามารถเพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ถึง 3 เซนติเมตรต่อปี และเจริญเติบโตในแนวตั้งตรงได้ประมาณ 1 ถึง 25 เซนติเมตรต่อปี แต่อย่างไรก็ตามแนวหินปะการังก็สามารถเติบโตได้ในความลึกประมาณ 150 เมตร เนื่องจากหินปะการังนั้นต้องการแสงอาทิตย์และไม่สามารถเจริญเติบโตเหนือระดับน้ำทะเลได้

เมื่อส่วนขอบของรัฐควีนส์แลนด์เคลื่อนเข้าสู่เขตร้อนชื้นแล้ว น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น หินปะการังเจริญเติบโตแต่ระบบการสะสมตัวของตะกอนมีการถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็วตามแนวภูเขาหรือที่สูงๆ ทำให้เกิดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta), อูอูซ (oozes), เทอบิไดซ์ (Turbidites) ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหินปะการัง และเมื่อ 10 ล้านปีก่อน ระดับน้ำทะเลลดลงอย่างฉับพลัน ทำให้สามารถมีการสะสมตัวของตะกอนด้วย บริเวณที่แนวหินปะการังขึ้น อาจสร้างจากพวกตะกอนที่ตกสะสมนี้เอง จนขอบเขตของแนวหินปะการังขยายออกไปไกล จนพวกตะกอนแขวนลอยนั้นไปตกสะสมตัวไม่ถึงจึงทำให้พวกหินปะการังหยุดการขยายตัวออกไปนั่นเอง นอกจากนี้เมื่อประมาณ 400,000 ปีก่อนมีช่วงระยะเวลาที่น้ำแข็งที่ปกคลุมโลกอยู่ละลายเพราะอากาศอุ่นขึ้นและทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 4 องศาเซลเซียส

เกรตแบร์ริเออร์รีฟมองจากเครื่องบินได้อย่างชัดเจน.

การเกิดของแผ่นดินที่เป็นฐานของแนวหินปะการัง เป็นที่ราบชายฝั่ง (Coastal plain) ก่อกำเนิดจากการกัดเซาะพวกตะกอนของแนวเทือกเขา (Great Dividing Range) กับพวกเนินเขาขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยแนวหินปะการังได้พบหินปะการังที่คล้ายโครงกระดูกซึ่งหาอายุได้ประมาณ 500,000 ปี เจ้าหน้าที่ของศูนย์เกรตแบร์ริเออร์รีฟมารีน (Great Barrier Reef Marine Park) คิดว่าหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นล่าใหม่นี้เป็นโครงสร้างของแนวหินปะการังซึ่งมีอายุประมาณ 600,000 ปี และปัจจุบันเชื่อว่าแนวหินปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่เริ่มเกิดและเจริญเติบโตเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อน

เมื่อ 20,000 – 6,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลขึ้นทำให้หินปะการังสามารถเจริญเติบโตในที่สูงกว่าเดิมได้ เช่น เนินเขาบนที่ราบใกล้ชายฝั่ง เนื่องจากเมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อนระดับน้ำทะเลอยู่ที่ 60 เมตรเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน และเป็นเพราะเหตุการณ์ในอดีตทำให้แนวหินปะการังแห่งนี้เจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่มหาศาล เราจึงเรียกสิ่งมหัศจรรย์นี้ว่าเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef)

hellobaitoei

A great WordPress.com site

Faithbuddha

ตถาคตโพธิสัทธา

pccpllove.wordpress.com/

Smile! You’re at the best WordPress.com site ever

herovongola

Smile! You’re at the best WordPress.com site ever